ผ้าม่าน

ผ้าม่าน : ม่านจีบม่านตาไก่ม่านลอนม่านพับวอลเปเปอร์หน้าหลัก
  ม่าน   : มู่ลี่ม่านม้วนม่านปรับแสงม่านพาแนลแทรคฉากกั้นห้องหน้าหลัก

ผ้าม่าน (Curtain)

ผ้าม่าน นอกเหนือจากการทำหน้าที่หลักที่ช่วยป้องกันแสงแดด และให้ความเป็นส่วนตัวแก่เราแล้ว ผ้าม่านยังถือเป็นของแต่งบ้านอีกหนึ่งชิ้นที่ช่วยทำให้ภาพรวมของบ้านออกมาดูดี มีสไตล์ และยังช่วยสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้ออกมาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บรรยากาศแบบสดใส บรรยากาศหรูหรา หรือแบบเคร่งขรึม รวมถึงช่วยเสริมความสวยงามให้แก่ทัศนียภาพภายในบ้าน

ผ้าม่าน แบ่งได้หลากหลายชนิด โดยผ้าม่านแต่ละแบบมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไป ความชอบส่วนตัวในการเลือกผ้าม่าน จึงสามารถสะท้อนตัวตนของผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี… วันนี้ Infinity Design ขออาสาพาทุกคนมาทำความรู้จักกับผ้าม่านในแบบต่างๆ

ผ้าม่านแบรนด์ไหนดี?

สินค้ากลุ่มประเภทผ้าม่าน/ม่าน ปัจจุบันมีผู้ผลิตและนำเข้าหลากหลายแบรนด์ ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์ทำโปรโมชั่นอย่างหนัก ที่มุ่งเน้นในเรื่องราคาเป็นปัจจัยหลัก โดยการลดทอนคุณภาพ จึงทำให้ ‘มีความเสี่ยงจากการที่ต้องเสียเงินซ้ำซ้อน ในการเลือกสรรสินค้า และผ้าที่อาจจะไม่ตอบโจทย์ได้จริง

The Chosen Collection

จึงเป็นที่มาของ ‘The Chosen Collection’ เล่มผ้าคอลเลคชั่นพิเศษ ที่คัดสรรเฉพาะผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ที่มีมาตรฐานการรับประกันรวมไปถึงคุณภาพที่ดีเยี่ยม เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าในการซื้อสินค้า ส่วนจะมีแบรนด์อะไรบ้าง ตามไปอ่านต่อที่นี่

ผ้าม่านแต่ละชนิดใช้เนื้อผ้าอะไรทำบ้าง ?

1. ผ้าม่านธรรมดา

ผ้าม่านธรรมดาจะโดดเด่นในด้านลวดลาย และสีสันบนตัวผ้า ด้วยเพราะมีความหลากหลายที่มากกว่าผ้าม่านกันแสงแบบ Dimout ผ้าม่านชนิดนี้ จึงเหมาะแก่การนำมาตกแต่งบริเวณห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน ในส่วนของการกันแสง ถือว่ามีการกันแสงได้น้อย เหมาะกับผู้ใช้งานที่ไม่ซีเรียสเรื่องแสงที่ส่องผ่านตัวผ้าเข้ามา 

ลักษณะของเนื้อผ้าที่ใช้ในการทำผ้าม่านแบบธรรมดา

ใช้ผ้าที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าไหม ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย ผ้าปอป่าน และผ้าจากเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่นๆ ซึ่งผ้าม่านชนิดนี้นิยมนำมาใช้ตกแต่งกับสไตล์ Gothic, สไตล์ Scandinavian, สไตล์ Cottage เป็นต้น เพราะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ พลิ้วไหว แสงสามารถผ่านได้ ทำให้ผู้อยู่อาศัยไม่อึดอัด โดยในโซนยุโรป และอเมริกาผ้าม่านชนิดนี้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ผ้าม่านธรรมดา

ข้อดี

– มีลวดลายและเฉดสีให้เลือกหลากหลาย

– ผ้าชนิดนี้มีการดูดซึมความชื้นที่ดี ทำให้ความชื้นภายในห้องไม่มากจนเกินไป ซึ่งหากความชื้นในห้องมีมากจนเกินไปจะส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเหนียวตัว อึดอัด และหายใจไม่สะดวก

ข้อเสีย 

– ผ้ามีการยืดหยุ่นสูง อาจส่งผลให้ขนาดของผ้าม่านมีการปรับเปลี่ยนตามสภาพอากาศ หรือหดตัวมากจากการซัก 

– กันแสงได้น้อย

– มีความคงทนน้อยกว่าผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์

ผ้าม่านกันแสง

2. ผ้าม่านกันแสง

โดยหลักๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ

2.1 ผ้าม่านกันแสงแบบ Dimout

ผ้าม่านชนิดนี้ มีเนื้อผ้าส่วนใหญ่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ (Polyester) โดยใช้ลักษณะการทอผ้าม่านกันแสงแบบพิเศษ ที่มีการใช้ด้ายสีดำแทรกตรงกลางระหว่างด้านหน้า และด้านหลัง ทำให้ผ้าม่านกันแสงแบบ Dimout สามารถช่วยกันแสงที่ส่องเข้ามาในห้องได้มากถึง 80-95% (สีของผ้าม่านและความหนาแน่นในการทอ มีผลต่อการกันแสงที่ส่องผ่านตัวผ้าเข้ามาในห้องโดยตรง) ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลากหลายแบบ ได้แก่
ตัวอย่างผ้าม่านกันแสง Dimout
ตัวอย่าง ผ้าม่านกันแสงแบบ Dimout

แบบผ้าเรียบ : เนื้อผ้าม่านเนียน มีการทอละเอียด Texture ด้านหน้า และด้านหลังตัวผ้าเหมือนกัน

แบบทอลาย : มีการทอลายด้านหน้าของผ้าม่าน ลวดลายที่ทอจะคล้ายกับเนื้อผ้าของธรรมชาติ เช่น ลายผ้าคอตตอน ลายผ้าลินิน ในส่วนเนื้อผ้าม่านด้านหลังจะเรียบไม่มีลวดลาย

แบบพิมพ์ลาย : มีการพิมพ์ลายด้านหน้าของผ้าม่าน เป็นลวดลายที่มีสีสันสวยงาม ในส่วนเนื้อผ้าม่านด้านหลังจะเรียบไม่มีลวดลาย

แบบอัดลาย : เนื้อผ้าม่านจะเป็นสีพื้น มี Texture เฉพาะด้านหน้า ซึ่งจะเห็นลวดลายบนเนื้อผ้า คล้ายการปั๊มนูน  ในส่วนเนื้อผ้าม่านด้านหลังจะเรียบไม่มีลวดลาย โดยรูปแบบนี้เป็นอีกหนึ่งลายผ้าม่านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ข้อดี 

– ผ้าชนิดนี้จะให้ลอนที่สวยกว่าผ้าชนิดอื่นๆ

– กันแสงได้ 80 – 95%

– ลดเสียงสะท้อนภายในห้อง

– ดูแลรักษาง่าย

– ป้องกันรังสี UV และลดความร้อนจากแสงแดด

ข้อเสีย

– กันแสงได้ไม่ 100%

เปรียบเทียบด้านหน้าและด้านหลัง ผ้าม่านกันแสง Blackout

2.2 ผ้าม่านกันแสงแบบ Blackout

ลักษณะของเนื้อผ้าม่านกันแสงชนิดนี้ จะสามารถกันแสงสูงสุด 100% ทำให้ห้องมืดสนิทแม้ในเวลากลางวัน ซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนได้เป็นอย่างดี โดยผ้าม่านกันแสงแบบ Blackout มีหลายรูปแบบ ดังนี้

ผ้าม่าน blackout ชนิดเคลือบโฟม 

ผ้าม่านที่มีการเคลือบด้านหลังผ้าด้วยโฟม ช่วยกันแสงได้ดี และช่วยซับเสียงได้เล็กน้อย ถือเป็นผ้าม่าน Blackout รุ่นแรกๆ ที่มีการผลิตขึ้น ทั้งนี้หากโดนแดดจัดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้โฟมด้านหลังหลุุดร่อนเป็นขุยได้ โดยผ้าม่าน blackout ชนิดเคลือบโฟมไม่สามารถซักได้ แต่จะใช้เป็นการดูดฝุ่นเพื่อทำความสะอาดแทน

ตัวอย่างม่านแบล็คเอ้าท์
ตัวอย่าง ผ้าม่านกันแสงแบบ Blackout

ผ้าม่าน Blackout ชนิดเคลือบซิลิโคน 

ผ้าม่านชนิดเคลือบซิลิโคน เป็นผ้าม่านที่มีการพัฒนามาจากผ้าม่านชนิดเคลือบโฟม โดยจะเป็นการเคลือบบริเวณด้านหลังผ้าม่านด้วยซิลิโคน ซึ่งจะทำให้ผ้าม่านมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทิ้งตัว ขึ้นลอนได้ดีกว่าชนิดเคลือบโฟม แต่ลอนที่ออกมาจะไม่สวยเท่าผ้าม่านกันแสงแบบ Dimout โดยผ้าม่าน Blackout ชนิดเคลือบซิลิโคน ตัวซิลิโคนด้านหลังจะไม่หลุดร่อนเป็นขุย ทำให้สามารถซักทำความสะอาดได้

ผ้าม่าน Blackout ชนิดเคลือบหลังผ้า 

ผ้าม่านชนิดนี้ จะมีการเคลือบหลังผ้าลักษณะพิเศษบริเวณด้านหลัง ซึ่งจะเป็นผ้าที่สามารถกันแสงได้ 100%

โดยผ้าม่านชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่าการเคลือบแบบโฟมและแบบซิลิโคน ที่สำคัญคือดูแลรักษาง่าย ขึ้นลอนสวยกว่าผ้าม่าน Blackout ชนิดอื่นๆ สามารถซักและดูดฝุ่นเพื่อทำความสะอาดได้

ข้อดี 

– กันแสงได้ 100% 

– ลดเสียงสะท้อนภายในห้อง

– ดูแลรักษาง่าย

– ป้องกันรังสี UV และลดความร้อนจากแสงแดด

ข้อเสีย

– ราคาสูงกว่าผ้าม่านแบบธรรมดาและผ้าม่านกันแสงแบบ Dimout

– ลอนผ้าไม่สวยเท่าผ้าม่านกันแสงแบบ Dimout

ผ้าม่านโปร่ง

3. ผ้าม่านโปร่ง (Sheer)

ลักษณะของเนื้อผ้าม่านโปร่งที่ใช้ จะเป็นผ้าใยสังเคราะห์ เช่น Polyester เนื้อของผ้าม่านโปร่ง เป็นผ้าเนื้อบาง ช่วยพรางสายตาและเพิ่มความเป็นส่วนตัวจากภายนอก แต่ยังคงเห็นทิวทัศน์จากนอกหน้าต่างได้อย่างไม่อึดอัด ผ้าม่านโปร่งยังช่วยเพิ่มความสวยงาม และทำให้บรรยากาศแสงภายในห้องดูนุ่มนวล สบายตา

ม่านแบ่งได้กี่ชนิด ?

แบบผ้าม่านแบ่งได้กี่ชนิด ?

หลังจากได้รู้จักกับเนื้อผ้าที่ใช้กันไปแล้ว มาดูในส่วนของแบบผ้าม่านกันบ้าง นอกจากเนื้อผ้า สีสัน หรือลวดลายแล้ว แบบผ้าม่านก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องเลือกให้เหมาะกับพื้นที่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม สวยงาม ซึ่งแบบผ้าม่านที่แตกต่างกัน ก็จะให้อารมณ์ของห้องที่แตกต่างกันออกไปด้วยนะ! สำหรับแบบผ้าม่านนั้น สามารถแบ่งออกคร่าวๆ ได้ดังต่อไปนี้

ตัวอย่างม่านจีบ
ตัวอย่าง ม่านจีบ
  • ม่านจีบ ม่านจีบถือเป็นผ้าม่านที่พบเห็นได้ทั่วไป และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สามารถนำไปตกแต่งในทุกๆ สถานที่ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นแต่งบ้าน หรือแต่งคอนโด รูปแบบผ้าม่านให้ความรู้สึกเรียบง่าย ดูดี สวยงาม ลงตัวกับผ้าม่านทุกเฉดสี ตัวผ้ามีการจับหัวผ้าม่านด้านบนเป็นจีบเล็กๆ 3 จีบ ดูเป็นเอกลักษณ์ มีลอนผ้าที่สวยงาม
ตัวอย่างม่านลอน
ตัวอย่าง ม่านลอน
  • ม่านลอน เป็นแบบผ้าม่านอีกทางเลือกหนึ่งที่มีสไตล์ มีลักษณะการจับจีบผ้าในแบบที่ล้ำสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับความทันสมัยในปัจจุบัน และเหมาะสำหรับพื้นที่ใช้สอยที่มีขนาดค่อนข้างจำกัด ตัวผ้าม่านโดยรวมมีลักษณะคล้ายกับม่านจีบ แต่บริเวณหัวผ้าม่านจะไม่มีการจับจีบ จะปล่อยหัวผ้าม่านให้เป็นลอนโค้งอิสระ ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย สบายตา
ตัวอย่างม่านพับ
ตัวอย่าง ม่านพับ
  • ม่านพับ ผ้าม่านแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ทั้งในฝั่งยุโรป อเมริกา และเอเชีย ด้วยคุณสมบัติเด่นหลายประการของม่านพับที่ใช้งานง่าย สะดวก แข็งแรง และประหยัดพื้นที่ในการรวบเก็บ ช่วยให้ห้องดูโปร่ง สบายตา เข้ากับการแต่งห้องแบบโมเดิร์น เหมาะสำหรับครอบครัวทันสมัย ยุคใหม่ ที่เน้นการใช้งานง่าย
ตัวอย่างม่านตาไก่
ตัวอย่าง ม่านตาไก่
  • ม่านตาไก่ อีกหนึ่งทางเลือกที่ดูทันสมัย ไม่ตกเทรนด์ กับม่านตาไก่ ตัวผ้าม่านจะมีการเจาะรูที่หัวผ้าม่าน เพื่อใส่ห่วงตาไก่ สอดเข้ากับรางผ้าม่าน ทำให้ดูพลิ้วไหว อิสระ สามารถตกแต่งได้กับห้องหลากหลายสไตล์ ทั้งบ้านและคอนโด
สายรวบม่าน

สายรวบม่านมีแบบไหนบ้าง ?

สายรวบผ้าม่าน (Curtain Tie Back) ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กันกับตัวผ้าม่านเสมอ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน ใน เวลาที่ต้องการรวบเก็บผ้าม่าน แถมยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับตัวผ้าม่านอีกด้วย โดยสายรวบผ้าม่าน สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รุ่น ดังนี้

  • สายรวบผ้าม่าน รุ่นมาตรฐาน สายรวบผ้าม่านรุ่นนี้ จะมีความสวยงาม กลมกลืนกับตัวผ้าม่าน และเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะถูกตัดเย็บจากผ้าโทนสีเดียวกันกับตัวผ้าม่านที่ใช้ ทำให้สามารถตกแต่งห้องได้ง่าย ดูลงตัวเข้ากับทุกๆ สไตล์ที่ต้องการตกแต่ง
  • สายรวบผ้าม่าน รุ่นประดับ มีลักษณะเป็นตุ้มและพู่ห้อยลงมา มีแบบหลากหลายให้เลือกเป็นจำนวนมาก ช่วยเพิ่มเอกลักษณ์และความน่าสนใจให้กับตัวผ้าม่านเป็นอย่างดี เหมาะกับการตกแต่งในสไตล์ที่ต้องการเพิ่มความหรูหรา เช่น Classic Style เป็นต้น
ตะขอเกี่ยวสายรวบผ้าม่าน

ตะขอเกี่ยวสายรวบผ้าม่านมีแบบไหนบ้าง ?

ตะขอเกี่ยวสายรวบผ้าม่าน (Tieback Hooks) ถูกใช้สำหรับแขวนสายรวบผ้าม่าน เพื่อรวบเก็บผ้าม่านได้อย่างสวยงาม ตะขอเกี่ยวผ้าม่านมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ ช่วยเพิ่มรายละเอียดให้ชุดผ้าม่านดูน่าสนใจเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสไตล์การตกแต่งห้องเป็นสำคัญ วัสดุของตะขอเกี่ยวผ้าม่านมี 2 รุ่น ดังนี้

  • ตะขอเกี่ยวสายรวบผ้าม่าน แบบพลาสติก ผลิตจากพลาสติก ABS มีสีสันและลวดลายให้เลือกเยอะ มีน้ำหนักเบา ราคาถูก อาจมีสีหลุดร่อนในกรณีที่เป็นสีแบบเคลือบเงาเลียนวัสดุโลหะ
  • ตะขอเกี่ยวสายรวบผ้าม่าน แบบโลหะ สีเงินขุ่นรุ่นยอดนิยม หมดห่วงเรื่องการรับน้ำหนักผ้าม่านและความแข็งแรงทนทาน ทั้งยังดูกลมกลืนไปกับการตกแต่งห้องทุกๆ สไตล์
ด้ามจูง มีแบบไหนบ้าง ?

ด้ามจูงผ้าม่านมีแบบไหนบ้าง ?

ด้ามจูงผ้าม่าน (Curtain Pole) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเปิด-ปิด ผ้าม่าน เพื่อป้องกันไม่ให้มือสัมผัสกับผ้าม่านโดยตรง ลักษณะของด้ามจูงจะเป็นด้ามยาว โดยวัสดุที่ใช้จะแตกต่างกัน

  • ด้ามจูงไม้สัก ถือเป็นด้ามจูงผ้าม่านที่เกิดขึ้นมานานที่สุด โดยวัสดุจะทำมาจากไม้สัก ตัวด้ามจะเป็นลวดลายไม้ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งจะให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ จึงเหมาะกับการตกแต่งในสไตล์แบบไทยๆ และ สไตล์โอเรียนทอล
  • ด้ามจูงอลูมิเนียม สำหรับด้ามจูงชนิดนี้ ได้มีวิวัฒนาการต่อยอดมาจากด้ามจูงไม้สัก เพราะต้องการตอบโจทย์เรื่องของราคาที่ถูกลง โดยวัสดุได้ทำมาจากอลูมิเนียม และมีโทนสีให้เลือกมากมายโดยใช้วิธีการทำสีที่ตัววัสดุ
  • ด้ามจูงอะคริลิค ถือเป็นด้ามจูงที่เกิดมาทีหลังสุด เพื่อให้ตอบโจทย์ในเรื่องของการตกแต่งและการใช้งาน โดยทำมาจากอะคริลิคใส ลักษณะเหลี่ยม ซึ่งให้ความรู้สึกเรียบ หรู และโมเดิร์น อีกทั้งยังสามารถตกแต่งเข้าได้กับทุกสไตล์เนื่องจากความใสของอะคริลิค จะทำให้มองไม่เห็น หรือ ไม่ชัดเจน ในเวลาที่รวบผ้าม่าน
รางผ้าม่าน มีแบบไหนบ้าง ?

รางผ้าม่านมีกี่ชนิด ?

  • รางผ้าม่าน แบบอลูมิเนียม เป็นรางที่ทำจากอลูมิเนียมหนา 1 มม. ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 แบบด้วยกัน เป็น รุ่นเชือกปรับ หรือจะใช้เป็น รุ่นด้ามจูง ก็ได้ เหมาะกับเพื่อนๆ ที่ไม่ชอบให้ผ้าม่านเห็นตัวราง เหมาะกับการแต่งบ้านทุกๆ สไตล์
  • รางผ้าม่าน แบบรางโชว์ คือรางผ้าม่านที่โชว์รางให้เห็นในเวลาที่ปิดหรือเปิดผ้าม่าน เหมาะสำหรับการตกแต่งแบบ Vintage, Classic หรือ Luxury เน้นโชว์ดีไซน์ที่ตัวรางและหัวของรางผ้าม่านเป็นหลัก ซึ่งตัวรางก็สามารถเลือกเป็นวัสดุที่ชอบได้

วัสดุที่ใช้ทำรางผ้าม่านมีแบบไหนบ้าง ?

  • รางโชว์อลูมิเนียม (Aluminium) เป็นรางผ้าม่านที่ทำมาจากอลูมิเนียมแต่เน้นให้เห็นตัวราง ข้อดีคือเป็นรางประดับที่ราคาไม่แพง มี 2 ขนาดให้เลือกใช้ คือ 25 มม. และ 35 มม.
  • รางโชว์สแตนเลส (Stainless Steel) เป็นรางผ้าม่านที่ทำจากสแตนเลส 100% ทำให้รางผ้าม่านไม่เกิดสนิม
  • รางโชว์ไทเทเนียม (Titanium) หนึ่งในรางผ้าม่านที่นิยมมากในปัจจุบัน ด้วยรูปแบบสี และรางที่มีให้เลือกหลายรูปแบบ ตัวรางเป็นเหล็กที่ทำการชุบสีด้วยระบบไฟฟ้า ทำให้สีไม่หลุดลอกง่าย เหมาะกับการแต่งบ้านหรือคอนโดสไตล์ Modern
  • รางไม้รามิน (Ramin Fashion Rod) เป็นรางผ้าม่านที่ผลิตจากไม้รามินแท้ 100% แต่ก็มีราคาที่ค่อนข้างสูง เหมาะกับการตกแต่งสไตล์ Classic, Vintage เป็นต้น

ผ้าม่านคุณสมบัติพิเศษ