Infinity Design For Green EP.76 ศูนย์ศึกษาฯ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

Green ExplorerInfinity Design For Green EP.76 ศูนย์ศึกษาฯ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

Infinity Design For Green EP.76 ศูนย์ศึกษาฯ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

กลับมาอีกครั้งหลังจากที่ผ่านช่วงการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรงมา ทีมงานก็เริ่มเดินหน้าทำกิจกรรม Infinity Design For Green เพื่ออนุรักษ์ธรรมาชาติ สิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่ากัน ด้วยการทำ “โป่งเทียม” ที่ศูนย์ศึกษาฯ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

กลับไปหน้าแรกของอัลบั้ม

 

Activities for GREEN

เราเริ่มออกเดินทางจากบริษัท Infinity Design ตั้งแต่ 06.30 น. และไปถึงศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้าในเวลา 09.00 น. ระยะเดินทางไม่ไกลประมาณ 160 กม. ก็ถึงแล้ว ในช่วงเช้าอากาศที่นี่ดีมากๆ มีลมเย็นๆ โชยมาตลอด วิวทิวทัศน์ก็สวยงาม

 

ถึงแล้วจ้า @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

ถึงแล้วจ้า @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

ภารกิจของเราในวันนี้คือการทำ “โป่งเทียม” เพื่อเสริมแหล่งอาหารให้แก่สัตว์กินพืชในป่า จำนวน 3 ที่ด้วยกัน ภายในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า เมื่อเจ้าหน้าที่มารับเราแล้วก็ไม่รอช้าขนวัสดุและอุปกรณ์ที่เตรียมมาขึ้นรถไปเลย

 

ขนของขึ้นรถไปเลย @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

ขนของขึ้นรถไปเลย @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

เริ่มโป่งเทียมที่ 1 ซึ่งจะอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากจุดตอนรับนักท่องเที่ยวสักเท่าไร แต่รถก็เข้าไปไม่ถึงอยู่ดีต้องช่วยกันลำเลียงของกันไป โดยอุปกรณ์และสิ่งของหลักๆ จะมีดังนี้

  1. จอบขุดดิน
  2. เกลือสินเธาว์ หรือ เกลือสมุทร
  3. เกลือแร่ก้อน

 

เดินทางไปทำโป่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

เดินทางไปทำโป่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

โป่งเทียมที่ 1 จะเป็นการมาเติมจากของเดิมที่เคยมีไว้นานแล้ว โดยการขุดดินขึ้นมาใหม่ให้เป็นแอ่งบริเวณกว้างๆ แต่ไม่ลึก ให้สัตว์เดินผ่านไปมาได้ หากเป็นแอ่งลึกสัตว์อาจจะจมลงไปไต่ขึ้นมาลำบาก

 

ขุดดินโปร่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

ขุดดินโปร่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

ขึ้นตอนต่อไปโรยเกลือสินเธาว์ หรือ เกลือสมุทร เม็ดลงไปทั่วๆ เมื่อมีฝนตกหรือความชื้นจากน้ำค้างเกลือก็จะละลายทำให้ดินบริเวณนั้นเค็ม สัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ก็จะพากันมากินดินเหล่านี้ เนื่องจากพืชที่สัตว์กินเข้าไปไม่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุที่ครบถ้วน จึงต้องทดแทนโดยการกินดินหรือดื่มน้ำจากโป่งแทน

 

โรยเกลือโปร่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

โรยเกลือโปร่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

หลังจากนั้นเราก็ทุบเกลือแร่ก้อน ผสมไปกับเกลือสินเธาว์ หรือ เกลือสมุทร ด้วย เป็นอาหารเสริมแร่ธาตุ เป็นตัวที่มีแคลเซียมสูง บำรุงกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เหมาะกับวัวขุน, วัวเนื้อ, วัวงาม, วัวชน, ควายเนื้อ, กระบือ, แพะ, ม้า, วัว , ควาย และแกะเป็นอย่างยิ่ง

 

ทุบเกลือแร่ก้อนโปร่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

ทุบเกลือแร่ก้อนโปร่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

เพียงแค่เนี้ยก็เสร็จแล้วกับการทำโป่งเทียมที่ 1 มาเสริมความรู้กันอีกสักนิด บริเวณที่นิยมเลือกทำโป่งเทียมคือ บริเวณพื้นที่ที่เคยเป็น “ดินโป่ง” มาก่อน แต่ดินเริ่มเสื่อมความเค็มลง และยังมีสัตว์ป่าลงมากินอยู่ หรือบริเวณพื้นที่ที่เป็น “โป่งร้าง” ซึ่งดินเสื่อมสภาพ และไม่มีสัตว์ป่าลงมากินหรือมาใช้ประโยชน์แล้ว และบริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายกับดินโป่งธรรมชาติบริเวณพื้นที่ที่เป็นด่านสัตว์ หรือใกล้กับด่านสัตว์ที่สัตว์ต้องเดินผ่านเป็นประจำอยู่แล้ว

 

เสร็จแล้วโปร่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

เสร็จแล้วโปร่งเทียมที่ 1 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

ต่อไปจุดที่ 2 เดินไปค่อนข้างไกลพอสมควร และต้องลุยป่าฝ่าดงเข้าไปอีกนิดหน่อย แต่ด้วยวันนี้อากาศดี มีลม และไม่ค่อยมีแดด ทำให้พวกเรายังมีเรี่ยวแรงทำโป่งเทียมกันแบบชิวๆ

 

เดินไปต่อโป่งเทียมที่ 2 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

เดินไปต่อโป่งเทียมที่ 2 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

โป่งเทียมที่ 2 นี้ส่งชายร่างกายกำยำออกกำลังกายเป็นประจำมาขุดดินบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าใช้เวลาไม่นานก็ได้แอ่งกว้าง พร้อมโรยเกลือสินเธาว์ หรือ เกลือสมุทร และทุบเกลือแร่ก้อนเรียบร้อยเลย โดยน่าจะใช้เวลารวมๆ เพียง 15-20 นาทีเท่านั้น

 

ขุดดินโป่งเทียมที่ 2 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

ขุดดินโป่งเทียมที่ 2 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

เสร็จโป่งเทียมที่ 2 แล้วก็ขอถ่ายรูปสักหน่อย สิ่งที่พวกเราทำอยู่เรียกว่า “โป่งเทียม” เป็นโป่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนโป่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ โป่งดิน เป็นบริเวณพื้นดินที่ประกอบด้วย แร่ธาตุต่าง ๆ โดยสัตว์มักจะใช้ปากขุดดิน เพื่อกินดินเหล่านั้น ส่วนโป่งน้ำ พบตามบริเวณน้ำที่ไหลผ่านหินปูนหรือน้ำใต้ดินโดยมีน้ำแช่ขังอยู่บนผิวดิน และบางแห่งเป็นน้ำพุจากใต้ดิน

 

เสร็จแล้วโป่งเทียมที่ 2 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

เสร็จแล้วโป่งเทียมที่ 2 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

ต่อไปโป่งเทียมที่ 3 ต้องเดินไกลออกไปอีก แต่อยู่ใกล้ถนน ซึ่งก็จะเดินสะดวกมากขึ้น ซึ่งมดที่นี่ร้ายกาจมาก กัดเจ็บสุดๆ ใครจะมาที่นี่แนะนำให้ใส่รองเท้าผ้าใบมานะคะ ไม่อย่างนั้นก็ต้องพก Fenistil Gel หรือ Zam-buk มาด้วย

 

โป่งเทียมที่ 3 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

โป่งเทียมที่ 3 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

โป่งเทียมที่ 3 นี้ถึงคราวที่สาวๆ ต้องมาทำบ้าง แต่ด้วยประสบการณ์ที่ทำมาแล้วหลายครั้ง แค่นี้สบายมาก ทำเหมือนผู้ชายเลย ขุดดิน โรยเกลือสินเธาว์ หรือ เกลือสมุทร และทุบเกลือแร่ก้อน พร้อมกลบดินกลับไป

 

ขุดดินโป่งเทียมที่ 3 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

ขุดดินโป่งเทียมที่ 3 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

เกล็ดความรู้อีกอย่างหนึ่งคือ จริงๆ แล้วเกลือสมุทรตามธรรมชาติมีความหลากหลายของแร่ธาตุมากกว่าเกลือสินเธาว์ โดยเกลือสมุทรมีทั้งธาตุอาหารหลัก คือ โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม และธาตุอาหารรอง เช่น ทองแดง ไอโอดีน และสังกะสี เป็นต้น แต่ก็ใช้เกลือได้ทั้ง 2 แบบ

 

โรยเกลือโป่งเทียมที่ 3 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

โรยเกลือโป่งเทียมที่ 3 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

ครบแล้วจ้าโป่งเทียมทั้ง 3 จุด ในปัจจุบันโป่งตามธรรมชาติหายากขึ้นทุกที มนุษย์จึงมีการสร้างโป่งเทียม (Artificial Salt Licks) ขึ้น โดยการขุดดินเป็นบ่อและนำเกลือสมุทรผสมเข้าไป เพื่อให้สัตว์ป่าเข้ามากินแร่ธาตุทดแทนโป่งร้างที่หมดไป แล้วครั้งหน้าเราจะมาทำเพิ่มกันอีก

 

เสร็จแล้วโป่งเทียมที่ 3 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

เสร็จแล้วโป่งเทียมที่ 3 @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

ก่อนจะไปเราจะมาพักผ่อน และรับประทานอาหารกลางวัน รับลม ชมวิวสวยๆ ที่นี่กันก่อน สำหรับป่าเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า มีความโดดเด่นของสภาพธรรมชาติวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มีลานกางเต็นท์ริมบึงน้ำ ที่มีทิวทัศน์ของป่าใหญ่เป็นฉากธรรมชาติดูสบายตา

 

บรรยากาศ @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

บรรยากาศ @ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

 

หลังจากนั้นเราก็ถือโอกาสช่วงบ่ายไปไหว้พระ 9 วัด ในจังหวัดสระบุรี เลย โดยจะมีวัดดังต่อไปนี้

  • วัดถ้ำเขาแก้ว
  • วัดถ้ำพระโพธิสัตว์
  • สำนักสงฆ์ธารน้ำตก
  • วัดโป่งเทพประทานพร (โป่งก้อนเส้า )
  • วัดเจ็ดคตทรัพย์เจริญธรรม
  • วัดป่าสว่างบุญ
  • วัดป่ามหาวีรวงศ์
  • วัดตาดใต้
  • วัดเขาแก้ววนาราม

 

ไหว้พระ 9 วัด @ สระบุรี

ไหว้พระ 9 วัด @ สระบุรี

 

 

สนใจรับบริการ ติดตั้งผ้าม่าน วอลล์เปเปอร์ ติดต่อวัดพื้นที่ประเมินราคาฟรี! โทร  02-750-2563

 

ติดตามกิจกรรมการเที่ยวสนุก อย่างมีคุณค่า “เพื่อบ้านหลังใหญ่” ในแต่ละเดือน ของพวกเรา… เจ้ามดตัวเล็ก (แต่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเรา) กับ กิจกรรม Infinity Design for Green หรือดูรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมทั้งหมดของพวกเราได้ที่ www.InfinityDesign.in.th/ForGreen

บ้านจะสวยได้อย่างไร … ?

ถ้าบ้านหลังใหญ่ยังถูกทำลาย

 

Infinity design for GREEN

 

 

 

author avatar
May Content Writer / Creative
อัพเดท Content ด้านการตกแต่งบ้าน และนำเสนอผลงานการตกแต่งบ้านโครงการชั้นนำ ด้วยประสบการณ์ 10 ปี