คู่มือการตรวจรับบ้าน และคอนโด (ตอน 1)

Home Careคู่มือการตรวจรับบ้าน และคอนโด (ตอน 1)

คู่มือการตรวจรับบ้าน และคอนโด (ตอน 1)

ห่างหายกันไปนาน กลับมาพบกันอีกครั้งกับ คู่มือการตรวจรับบ้าน และคอนโด (ตอน 1) จากทาง Infinity Design โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์ และขั้นตอนต่างๆ สำหรับผู้ที่กำลังจะมอบโอนบ้าน และคอนโดกันครับ ซึ่งจะประกอบไปด้วยการเตรียมอุปกรณ์ และจุดที่ต้องสำรวจ..

 

การตรวจรับบ้านนั้น สิ่งแรกที่เราควรทำคือ การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น สมุดโน้ต ปากกา ไขควงเช็คไฟ ไม้บรรทัด ลูกปิงปอง หรือลูกแก้ว สำหรับตรวจสอบพื้น ซึ่งหากลูกแก้วไหลรวมกันไปทางไหนแสดงว่าพื้นตรงนั้นเป็นหลุม หรือหากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นตรงนั้นอาจโก่ง เป็นต้น

 

คู่มือตรวจรับบ้านและคอนโด

คู่มือตรวจรับบ้านและคอนโด

 

นอกจากนี้ยังมี กล้องถ่ายรูป ชอล์กสี หรือ Post it ไว้สำหรับทำเครื่องหมายจุดบกพร่อง รวมถึงไฟฉาย สายยาง ถังน้ำ และเศษผ้า สำหรับใช้ทดสอบการระบายน้ำในห้องน้ำ โดยนำผ้าอุดท่อระบายน้ำแล้วนำน้ำในถังน้ำเท เอาเศษผ้าออก แล้วเช็คดูการระบายน้ำว่ามีการท่วมขังหรือไม่

 

โทรศัพท์นั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ควรใช้ 2 เครื่องเพื่อทดสอบสัญญาณการโทร (อาจต้องมีคน 2 คน) ส่วนการทดสอบไฟให้นำโคมไฟเล็ก มาใช้ทดสอบ ส่วนผนังปูน ทดสอบโดยการใช้เหรียญ 10 บาท เคาะผนัง ทดสอบการกะเทาะของปูนตามรอยร้าว

ส่วนการแก้ไขต่างๆ นั้นควรบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เก็บไว้ที่เราชุดหนึ่ง และถ่ายสำเนาให้ผู้รับเหมา “เซ็นรับทราบ”อีกชุดหนึ่ง และให้ผู้รับเหมานัดวันตรวจครั้งที่สองในวันนั้นเลย ซึ่งตอนมาตรวจการแก้ไขก็สามารถไล่ตรวจตามรายการดังกล่าวได้ทันที

 

Tip! เด็ดที่แนะนำ » ระยะเวลาในการตกแต่งภายใน ใช้ส่วนไหน เท่าไหร่บ้าง?

 

ขั้นตอนการตรวจรับบ้านและคอนโด เบื้องต้นนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบหมายเลขเข็มหมุดเขตที่ดินทั้งสี่ทิศ
  2. เช็คมิเตอร์ น้ำ ไฟ ก่อนโอน ว่าไม่มีการค้างชำระ
  3. จดรายละเอียดเกี่ยวกับ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ลงนามในแบบก่อสร้าง(ชื่อ,นามสกุล,เบอร์ที่สามารถติดต่อ)
  4. นำชอล์ก หรือ Post it ทำเครื่องหมาย ในจุดที่ต้องแก้ไข แล้วถ่ายรูปเก็บไว้
  5. สอบถามเรื่องการ เก็บขยะ วันเวลา โดยประมาณ รวมถึง ช่วงเวลาจ่ายค่าไฟฟ้า และประปา
  6. ขอใบรับประกันต่างๆ ของบ้าน (ใบรับประกันการมุงหลังคา ฉีดกันปลวก แอร์ ระบบตัดไฟ ปั้มน้ำ เครื่องดูดควัน เป็นต้น)
  7. ขอแบบบ้านพิมพ์เขียว (บางโครงการอาจให้) โดยด้านในจะประกอบไปด้วยระบบประปา สุขาภิบาล ผังไฟฟ้า และส่วนอื่นๆ โดยอาจขอควรเป็นแบบที่มีการแก้ไขในขณะก่อสร้าง (As-Build Drawing) จะดีที่สุดเพราะจะมีประโยชน์อย่างมากในการแก้ไขซ่อมแซม หรือต่อเติมในอนาคต
  8. ขอรายละเอียดของ Spec เบอร์”สี”ที่ใช้ เผื่อไว้ในเวลาที่ต้องซ่อมแซมทาสีแต่งเล็กๆ น้อยๆ (ตรงจุดนี้มีโอกาสได้ใช้สูง เนื่องจากการเจาะผนังผิดในบ้านเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้) นอกจากนั้นแล้ว ภายในบ้านควรมีกระเบื้องปูพื้นที่ใช้ในบ้าน สำรองเอาไว้ เผื่องานซ่อม เพราะหากไปซื้อทีหลัง สีอาจเพื้ยนได้เช่นกัน
  9. ตรวจนับจำนวนกุญแจให้ครบถ้วนตามสัญญา
  10. ตรวจสอบตามรอยต่อระหว่างวัสดุกับจุดที่มีการเปลี่ยนของระดับพื้น เพราะมีโอกาสสูงที่งานก่อสร้างมักไม่ค่อยเรียบร้อย
  11. ก่อนโอนรับห้อง ต้องรอให้งานเรียบร้อยก่อนโอน!!

 

ต่อจากนั้นให้ตรวจอย่างละเอียด โดยมีจุดใหญ่ๆ ดังต่อนี้

  • ระบบโครงสร้าง

ตรวจเช็คความลาดเอียง รอยร้าวต่างๆ โดยเฉพาะในบริเวณ พื้น คาน เสาซึ่งถือว่าเป็นส่วนโครงสร้างสำคัญที่สุดของบ้าน

 

โครงสร้างบ้าน

โครงสร้างบ้าน

 

  • สภาพภายนอกตัวบ้าน

ตรวจดิ่ง ฉาก ของท่อระบายน้ำ ท่อประปา สภาพของทางระบายน้ำ ถังบำบัด ท่อน้ำทิ้ง และท่อน้ำดี ท่อต่างๆ เหล่านี้มีระยะความลาดเอียงเป็นอย่างไร ระบายน้ำได้ดีหรือไม่ ฝาท่อระบายน้ำเรียบร้อยสวยงามหรือไม่ ผนังบ้านด้านนอกมีจุดที่แหว่งหรือมีสีเลอะเทอะ หรืองานปูนในส่วนที่เป็นซอกมุมเรียบร้อยหรือไม่ หลังบ้านต้องไม่มีน้ำขังเป็นหลุมเป็นบ่อ โดยสามารถลองทดสอบได้โดยการเทน้ำราดทดสอบดู

 

  • งานใต้หลังคา

อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ มีไขควงวัดไฟ รองเท้าพื้นยาง และถุงมือหนา กันไฟดูด บันไดยาว สำหรับปีนขึ้นใต้หลังคา ไฟฉาย กล้องถ่ายรูปตรวจงาน ซึ่งถ้าเป็นหน้าฝนก็จะทำการตรวจสอบส่วนนี้ได้ง่าย ซึ่งหากไม่ใช่หน้าฝน จะตรวจเช็คได้ลำบาก เพราะต้องหาสายน้ำพร้อมกับเครื่องปั้มน้ำแรงดันสูง มาตรวจสอบโครงหลังคาว่าได้ฉากได้ระดับหรือไม่ ระยะห่างของแปเป็นอย่างไร การติดตั้ง และการยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาถูกต้องเท่ากันหรือไม่

 

หลังคา

หลังคา

 

นอกจากนี้ ให้ดูการซ้อนทับของกระเบื้องถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้ง ความลาดเอียง ครอบสันเป็นอย่างไร มีแผ่นกระเบื้องบางแผ่นแตก หรือมีการรั่วซึมหรือไม่ ไม้ระแนง และไม้เชิงชาย มีการไสแต่งผิวเรียบเนียน มีขนาดสม่ำเสมอกันไหม และได้ทาน้ำยากันปลวก และรักษาเนื้อไม้หรือไม่

 

  • ระบบน้ำ

ระบบน้ำนั้นเป็นส่วนสำคัญ ให้เช็คระบบช่องน้ำล้น โดยขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า อ่างครัว ที่ซักผ้า โดยขังน้ำให้เต็มดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือไม่ แล้วปล่อยน้ำไหลออกดูว่าไหลดีหรือไม่ ถ้ามีอาการปุดๆ แสดงว่าไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศเล็กไป ให้ทดลองใช้พร้อมกัน ดูการแยกน้ำ กดสายชำระดูว่าใช้ดีหรือไม่

 

ตรวจ ระบบน้ำ

ตรวจ ระบบน้ำ

 

นอกจากนั้น ให้เช็คความลาดเอียงของพื้นในส่วนเปียกที่จำเป็นต้องมีการไหลระบายถ่ายเทของน้ำต้องมีความลาดเอียงไปสู่ท่อระบายน้ำ อย่างห้องน้ำ กันสาดลานจอดรถ หรือลานซักล้าง โดยการเทราดน้ำตามจุดดังกล่าว และดูว่ามีที่ท่วมที่ขังอย่างไรบ้าง ตรงไหนท่วม และอย่าลืมตรวจสอบปั้มน้ำ และก๊อกน้ำทุกหัวในบ้านว่าน้ำรั่วหรือไม่ สุดท้ายให้เช็คมิเตอร์น้ำ โดยการลองปิด เพื่อดูว่ามีจุดไหนในบ้านรั่วหรือไม่

 

อ่านต่อเนื่อง ตอนที่ 2 กดที่ลิงค์นี้เลย

คู่มือการตรวจรับบ้าน และคอนโด (ตอน 1)

ติดตาม เคล็ดลับการดูแลรักษาบ้าน เพิ่มเติม

ไขข้อข้องใจ!! ติดวอลเปเปอร์ หรือทาสี ดีกว่ากัน

เรื่องควรรู้ ก่อนเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

เตรียมตัวให้พร้อม… ก่อนขอสินเชื่อซื้อบ้าน

 

 

เพื่อนๆ ที่สนใจรับบริการ ติดตั้งผ้าม่าน วอลล์เปเปอร์ ติดต่อวัดพื้นที่ประเมินราคาฟรี! [small_button link=”http://www.infinitydesign.in.th/contact-us”]CLICK![/small_button]

 

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวและอัพเดทผลงานการตกแต่งบ้าน แต่งคอนโด ได้ทุกวัน ที่ InfinityDesign.in.th หรืออีกหนึ่งช่องทางจากทางแฟนเพจ เพียงกด ที่นี่