For Green EP.56 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คอยรุตตั๊กวา

Green LearnFor Green EP.56 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คอยรุตตั๊กวา

For Green EP.56 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คอยรุตตั๊กวา

ในกิจกรรม Infinity Design for Green EP.56 นี้ เราเดินทางไปที่ “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา(ลำไทร)” ย่านหนองจอก ซึ่งเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่น้อมนำแนว”ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ในชีวิต, การงาน และให้ประชาชนได้ศึกษา

 

กลับไปหน้าแรกของอัลบั้ม

 

Activities for GREEN

 

 

 


Infinity Design for Green EP.56 เรามาทำกิจกรรมกันที่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา(ลำไทร) แห่งนี้อยู่ชานเมืองกรุงเทพมหานคร มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย โดยน้อมนำแนว”ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีไร่นา, บ่อน้ำ, สัตว์ และที่พักอาศัย ไม่ต้องเดือดร้อนใคร ไม่ต้องซื้อกิน และสามารถทำเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนภายนอกได้อีกด้วย

 

ถึงแล้ว @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

ถึงแล้ว @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

เมื่อพวกเราทีม Infinity Design เดินทางมาถึงก็รีบเข้าฟังการบรรยาย เพื่อศึกษาหาความรู้ที่มาที่ไปของ ชุมชนคอยรุตตั๊กวา(ลำไทร) และการน้อมนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ โดยคนในพื้นที่ประชากรในหมู่บ้านลำไทรร้อยละ ๙๐ เป็นชาวมุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหงส์ เป็นต้น

 

คุณยา วิทยากรหลักของเรา @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

คุณยา วิทยากรหลักของเรา @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

พื้นที่ชุมชนคอยรุตตั๊กวา(ลำไทร) นั่นก็คือพื้นที่ทำกินของประชากร ที่แต่ละครอบครัวได้ทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ และประสบความสำเร็จ มีกินมีใช้ตลอดทั้งปี เหลือก็นำไปขาย จึงจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา(ลำไทร) ขึ้นมา เพื่อเผยแพร่เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลัง และให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้

 

เศรษฐกิจพอเพียงมีกินมีใช้ทั้งปี @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

เศรษฐกิจพอเพียงมีกินมีใช้ทั้งปี @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

เกษตรทฤษฎีใหม่ จะแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • ปลูกข้าว จำนวน 3๐ %
  • พืชไร่ พืชสวน จำนวน 3๐ %
  • ขุดสระที่ไว้ใช้บริโภค การเกษตร เลี้ยงปลา จำนวน 3๐ %
  • ที่อยู่อาศัย จำนวน 1๐ %

 

เกษตรทฤษฎีใหม่ @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

เกษตรทฤษฎีใหม่ @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

ฐานที่ 1 คุณยา (วิทยากร) ได้พาเราไปพื้นที่บริเวณบ้านประมาณ 1 ไร่ โดยพื้นที่ภายในประกอบด้วย บ้านเรือน, แปลงนา, บ่อน้ำ และแปลงพืชผักสวนครัว ซึ่งในเวลาประกอบอาหารไม่ต้องไปไหนไกล มาเก็บหลังบ้านไปทำอาหารได้เลย นอกจากจะประหยัดแล้ว ยังปลอดสารเคมีอีกด้วย

 

 1 ไร่สร้างสุข พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

1 ไร่สร้างสุข พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

ในระหว่างทางที่พวกเราเดินไปฐานที่ 2 บริเวณ 2 ข้างทางมี ลูกเชอร์รี่ (Cherry) และ มะเฟือง (Star Fruit) ลูกดกเต็มต้น รสชาติหวานอมเปรี้ยว ให้เราได้เก็บกินตลอดทาง ได้ทั้งความรู้และอิ่มท้อง

 

เศรษฐกิจพอเพียง @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

เศรษฐกิจพอเพียง @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

ต่อมาในฐานที่ 2 เราก็ได้พบกับวิทยากรอีกหนึ่งท่านนั่นคือ คุณวิวัฒน์ สมานตระกูล โดยฐานนี้โดดเด่นเรื่องการเลี้ยงสัตว์น้ำอย่าง “หงส์” เป็นสัตว์ปีกที่มีความสง่างาม สามารถขายได้คู่ละ 50,000-150,000 บาท และเป็นที่ต้องการมากทั้งชาวไทยและต่างชาติ ถึงกับต้องจองกันข้ามปีเลยทีเดียว

 

วิทยากรเชี่ยวชาญการเลี้ยงหงส์ @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

วิทยากรเชี่ยวชาญการเลี้ยงหงส์ @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

หงส์” ที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์มนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ หงส์ดำ (Cygnus atratus), หงส์ขาวคอดำ (Cygnus melancoryphus) และหงส์ขาว (Cygnus olor) อยู่ง่ายได้ทั้งบนบกและในน้ำ และกินง่ายด้วยเช่น ผักบุ้ง, ผักตบชวา และดอกจอกเป็นต้น แต่เวลาออกไข่จะดุมาก หากเข้าไปแย่งไข่มันจะปกป้องไข่เต็มที่

 

หงส์เลี้ยงไว้รายได้ดี @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

หงส์เลี้ยงไว้รายได้ดี @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

จากนั้นเราก็ไปต่อฐานที่ 3 โดยฐานนี้มีเนื้อที่ค่อนข้างกว้าง จัดแบ่งพื้นที่ตามเกษตรทฤษฎีใหม่เช่นกัน มีความโดดเด่นด้วยการปลูกผลไม้แปลกๆ เช่น สับปะรดฉีกตา ทานง่ายไม่ต้องปลอกเปลือก และเพาะมันเทศญี่ปุ่นปลูกทานเอง เพราะปัจจุบันขายแพงขีดละหลายบาท

 

นอกจากนี้ยังเปลี่ยนจากเครื่องสูบน้ำที่ใช้กันทั่วไป มาทำจักรยานปั่นน้ำ เพื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้ในแปลงเกษตร ไม่เปลืองค่าไฟ, ได้ออกกำลังกาย และได้ใช้จักรยานเก่าใกล้พังให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

 

จักรยานปั่นน้ำ @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

จักรยานปั่นน้ำ @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

จากนั้นเราก็กลับมาทำอาหารแปรรูป “แหนมปลา” กับ “น้ำสมุนไพร” ซึ่งส่วนผสมต่างๆ ได้มาจากแปลงเกษตรบริเวณบ้านและพื้นที่ของเครือญาตินี่เอง ปลูกเอง กินเอง ไม่เสียตังค์สักบาทเลย

 

ทำแหนมปลากับน้ำสมุนไพร @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

ทำแหนมปลากับน้ำสมุนไพร @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

กลุ่มที่ 1 ทำ “แหนมปลา” เก็บเกี่ยวความรู้ไปทำให้ครอบครัวกิน ที่ลงมือทำครั้งเดียว แต่สามารถเก็บไว้กินได้อีกหลายมื้อ ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย อีกทั้งเมื่อทำเสร็จพี่เขาก็ให้เอากลับไปกินที่บ้านได้ด้วย

 

มาทำแหนมปลากันจ้า @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

มาทำแหนมปลากันจ้า @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

ต่อมากลุ่มที่ 2 ทำ “น้ำสมุนไพร” ซึ่งในวันนี้เลือกทำ “น้ำอัญชัน” วิธีการทำง่ายไม่ยุ่งยาก อร่อย ดื่มแล้วสดชื่น และยังมีสรรพคุณอื่นๆ อีกมากมายเช่น สารต้านอนุมูลอิสระในดอกอัญชันช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย, บำรุงสมอง, ช่วยล้างสารพิษและขับของเสียออกจากร่างกาย, ก้อาการปัสสาวะพิการ และแก้อาการฟกช้ำ เป็นต้น

 

มาทำน้ำสมุนไพรกันจ้า @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

มาทำน้ำสมุนไพรกันจ้า @ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา

 

หลังจากเสร็จกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา แล้ว เราก็เดินทางไปดื่มด่ำธรรมชาติ สูดโอโซนเต็มๆ ที่ “ป่าในกรุง” เดินขึ้น Sky Walk เรียนรู้สังคมพืชต่างๆ ระหว่างทางเดินพร้อมเพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ เส้นทางนี้เชื่อมไปยัง หอชมป่า (Observation Tower) สามารถมองเห็นวิวป่าไม้ได้ในบริเวณกว้างอีกด้วย

 

ธรรมชาติในเมืองกรุง @ ป่าในกรุง

ธรรมชาติในเมืองกรุง @ ป่าในกรุง

 

สนใจรับบริการ ติดตั้งผ้าม่าน วอลล์เปเปอร์ ติดต่อวัดพื้นที่ประเมินราคาฟรี! โทร  02-750-2563

 

ติดตามกิจกรรมการเที่ยวสนุก อย่างมีคุณค่า “เพื่อบ้านหลังใหญ่” ในแต่ละเดือน ของพวกเรา… เจ้ามดตัวเล็ก (แต่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเรา) กับ กิจกรรม Infinity Design for Green หรือดูรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมทั้งหมดของพวกเราได้ที่ www.InfinityDesign.in.th/ForGreen

บ้านจะสวยได้อย่างไร … ?

ถ้าบ้านหลังใหญ่ยังถูกทำลาย

Infinity design for GREEN


 

 

author avatar
May Content Writer / Creative
อัพเดท Content ด้านการตกแต่งบ้าน และนำเสนอผลงานการตกแต่งบ้านโครงการชั้นนำ ด้วยประสบการณ์ 10 ปี